นิวัต พุทธประสาท
about: นิวัต พุทธประสาท (Niwat Puttaprasart)
เริ่มเขียนหนังสือตั้งแต่ปี 1991 เรื่องสั้นเรื่องแรกของเขาได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือสยามรัฐ สัปดาห์วิจารณ์ ในปี 1992 จากนั้นเขาก็มีผลงานตามหน้านิตยสารชั้นนำของเมืองไทยอย่างต่อเนื่อง จนได้รับประดับช่อการะเกด จากเรื่องสั้นเรื่อง “ความเหลวใหล” ในปี 1996 (ช่อการะเกด เป็นนิตยสารเรื่องสั้นสำคัญของไทย)
ในปี 1996 ผลงาน “วิสัยทัศน์แห่งปรารถนาและความตาย” รวมเรื่องสั้นเล่มแรกของเขาได้รับการจัดพิมพ์ นอกจากนั้นเขายังจัดตั้งเวบไซต์ thaiwriter.net เวบไซต์วรรณกรรมเวบแรกของเมืองไทย รวมกลุ่มนักเขียนรุ่นใหม่ภายใต้ชื่อว่า “สนามหญ้า” และยังมีบทบาทสำคัญในการผลักดันนักเขียนวรรณกรรมรุ่นใหม่ โดยก่อตั้งสำนักพิมพ์เม่นวรรณกรรม ซึ่งจัดพิมพ์หนังสือของนักเขียนไทยรุ่นใหม่เป็นหลัก โดยผลักดันให้เกิด Alternative Writers ซึ่งเป็นบู๊ธที่มีส่วนร่วมในงานหนังสือของไทย
ปัจจุบันเขาเป็นกรรมการสมาคมผู้จัดพิมพ์ และจัดจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) คอลัมนิสต์ นักเขียน และบรรณาธิการบริหาร สำนักพิมพ์เม่นวรรณกรรม
BOOK & STUFF INFO
Books
1.วิสัยทัศน์แห่งปรารถนาและความตาย รวมเรื่องสั้นจำนวน 13 เรื่อง พิมพ์ครั้งแรก 1996 เป็นรวมเรื่องสั้นคัดสรรค์เรื่องสั้น ที่เคยจัดพิมพ์ตามหน้านิตยสารตั้งแต่ปี 1992-1994 เนื้อหาส่วนใหญ่ของหนังสือกล่าวถึง ปัญหาสังคม การเมือง และความเป็นไทยในรูปแบบหลากหลาย ตั้งแจ่สัจจนิยม สัจจนิยมมายา รวมถึงงานเขียนในแบบ Exit
2.ใบหน้าอื่น นิยาย พิมพ์ครั้งแรก 1999 นิยายเรื่องนี้ เป็นแนว coming of age ตัวละครวัยรุ่น ครอบครัวแตกแยก พ่อเป็นใหญ่ในบ้าน ตัวเอกต้องการค้นหาความหมายของชีวิต เขาติดยา พบความรักครั้งแรก และชีวิตจบลงที่สถานบำบัดทางจิต
3.ไปสู่ชะตากรรม นิยาย พิมพ์ครั้งแรก 2000 นิวัต กลับมาเขียนในแนวอาชญนิยาย การเมือง ตัวเอกเป็นนักข่าวที่ตามข่าวการฆาตกรรมโสเภณีในเมืองหนึ่ง แต่สิ่งที่เขาค้นพบของเบื้องหลังอาชญากรรม ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงเพราะเหตุฆาตกรรม แต่กลับเป็นกระบวนการทางการเมืองที่เปลี่ยนผ่านโครงสร้างของการเมืองไทย โดยย้อนฉากหลังไปสู่ช่วงการเมืองปี 1975-76
4.ขอบฟ้าเหตุการณ์ รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งแรก 2001 รวมเรื่องสั้นห้าเรื่อง ที่ตัวละครเกี่ยวร้อยเข้าด้วยกัน ว่าด้วยผู้คนในสังคมสมัยใหม่ การดำรงชีวิตและการหาความหมายของชีวิต
5.ลมหายใจอุบัติซ้ำ รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งแรก 2003 รวมเรื่องสั้น ห้าเรื่องที่นำอาหารมาเป็นแกนกลางของเรื่อง โดยเล่าผ่าชีวิตสังคม ความเป็นอยู่ของสังคมไทย
6.แสงแรกของจักรวาล รวมเรื่องสั้นคัดสรรค์ ตั้งแต่ปี 1995-2008 พิมพ์ครั้งแรก 2008 รวมเรื่องสั้นชุดนี้เป็นรวมเรื่องสั้นชุดเปลี่ยนผ่านงานเขียนของนิวัต จากแนวทางสัจนิยม สัจนิยมมายา มาเป็นดรามาติกโรแมนติก ที่ขับเน้นความเข้มข้นของตัวเนื้อเรื่องมากกว่ารูปแบบที่หวือหวา
7.หิ่งห้อยในสวน นิยายขนาดสั้น ปี 2010 ว่าด้วยนิยาย Coming of Age โรคซึมเศร้า การปลิดชีวิตของวัยรุ่นตัวเอก ดำเนินเรื่องผ่านการบันทึกชีวิตประจำวัน
8.ความโดดเดี่ยวทั้งมวลที่ไม่มีใครสังเกตเห็น นิยาย ปี 2012 นิวัตกลับมาเขียนนิยายขนาดยาวอีกครั้ง เล่าเรื่องนักเขียนหนุ่มใหญ่ ตกกงาน ภรรยาที่มาจากครอบครัวผู้พิพากษาทิ้งเขาไป เขาถูกบังคับจากหน่วยงานลับให้ออกตามหาเด็กสาวคนหนึ่งที่หายไป ซึ่งเขาคิดว่าเป็นเพื่อนเก่าสมัยเรียนประถม การตามหาเด็กสาวทำให้เขาพบว่าสิ่งที่เขาตามหาเลือนลางลงไปเรื่อยๆ และสิ่งที่เกิดกับเขากลายเป็นกระบวนการหล่อหลอมให้ผู้คนในสังคมอยู่ในเบ้าหลอมแบบเดียวกัน และท้ายที่สุดเขาก็เป็นส่วนหนึ่งของกลไกนั้น
9.รัตติกาลของพรุ่งนี้ นิยายขนาดสั้น ปี 2014 นิยายขนาดสั้นเรื่องนี้ ใช้เวลาเขียนหลังรัฐประหารในประเทศไทยไม่กี่เดือน หลังนักกิจกรรมทางการเมืองโดนจับ ปรับทัศคติ และรัฐบาลทหารได้จัดระเบียบสังคมอย่างหนัก ก่อให้นิยายดิสโทเปียเล่มนี้มีความร้อนแรง และพยายามทำนายถึงอนาคตของประเทศที่จะไม่กลับไปเหมือนเดิม
10.กายวิภาคของความเศร้า นิยาย 2016 นิยายเล่มนี้นิวัตใช้วิธีการนำเรื่องสั้นที่เขาเขียนโดยมีพื้นหลังตัวละครเดียวกัน นำมาร้อยเรียงให้เป็นองก์เดียว ตัวละครไม่มีชื่อ เวลาเหมือนเขาวงกต โดยเล่าเรื่องช่างภาพแฟชั่นสตรีท ที่ต้องมาตายจากเหตุการณ์ทางการเมือง โดยถูกฝ่ายรัฐบาลปราบปรามในปี 2010 นิยายเล่มนี้ซุกซ่อนสัญลักษณ์ที่ไม่สามารถนำเสนอได้ในประเทศไทย เนื่องจากมีบทลงโทษที่รุนแรง เพื่อสื่อถึงความไร้เสรีภาพของประเทศไทย นิวัตจึงตัดสินใจใช้สัญลักษณ์นำเสนอแทน ซึ่งเขาเชื่อว่าบางครั้งสัญลักษณ์อาจจะสื่อถึงพลังได้ไม่ต่างกัน