top of page

ความน่าจะอ่าน 2017

โตมร- สวัสดีทุกๆ ท่าน ยินดีต้อนรับสู่ความน่าจะอ่านครั้งที่ 2 ปีที่แล้วเป็นปีแรก ปีนี้เป็นปีที่ 2 ก็ได้รับเกียรติจากคณะกรรมการเช่นเดิม จริงๆ กรรมการไม่ได้มีแค่นี้นะครับ ยังมีคุณสฤณี อัศวกุล แต่ก็ส่งความคิดเห็นมาให้ ยังมีคุณทราย เจริญปุระ คุณทีปกร คุณนิวัต และผมโตมรครับ

ปีที่ผ่านมา หนังสือที่ได้อ่านที่ได้เลือก มองว่าสถานการณ์หนังสือปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไงบ้าง เพราะเขาบอก มีการอ่านหนังสือน้อยลง พูดกันทุกปี ปีนี้มันน้อยลงจริงไหม

นิวัต- คือผมเข้าวงการหนังสือมา ปีนี้ก็ปีที่ 16 – 17 ประมาณนี้ฮะ เขียนหนังสือมา 10 ปี ที่ผ่านมาก็ได้ยินอย่างนี้ มาตลอด เราก็พยายามพิสูจน์ว่าคนอ่านน้อยลงจริงไหม ผมคิดว่ามันไม่ได้น้อยลง แต่ก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ต้องเข้าใจก่อนว่า การสร้างวัฒนธรรมการอ่านขึ้นมาในประเทศไทย มันไม่ได้ใช้เวลาสิบปีหรือยี่สิบปีจะสำเร็จ ยิ่งเป็นหนังสือวรรณกรรม ยิ่งเติบโตช้ามากๆ เรียกได้ว่า ค่อยๆ คลานคืบ ปี 60 เนี่ยเป็นปีที่น่าสนใจปีหนึ่งโอเค เราจะเห็นภาพแม็กกาซีนปิดตัวลงหลายฉบับ แล้วก็ทำท่าว่าจะปิดตัวลงอีกหลลายฉบับ แต่ว่าในปี 60 พ็อกเก็ตบุ๊ค วรรณกรรมมีความคึกคักเป็นพิเศษ เป็นพิเศษทั้งเป็นเรื่องแปลสนุกๆ เช่นบุพเพสันนิวาส ออกมานานแล้ว และก็ขายเงียบๆ มาก่อนหน้านี้ด้วยซ้ำ ยังมีหนังสือที่ขายดีขายเงียบๆ อยู่อีกมากแต่เราไม่รู้เราไม่ได้ไปเจาะสู่สำนักพิมพ์นั้นๆ วรรณกรรมไทยก็คึกคักขึ้น ทั้งสำนักพิมพ์ที่เกิดใหม่และที่มีอยู่ก็มีความตั้งใจสูง และก็เมื่อ 2-3 ปี ลูกเล่นหรือรูปแบบการนำเสนอน่าสนใจไม่เฉพาะแค่เนื้อหา ทั้งตัวรูปเล่ม หน้าปก แต่ละสำนักพิมพ์แข่งกันเต็มที่ ติดตาม ยังดีกว่าตอนผมเริ่มทำหนังสือเมื่อ 10 ปีก่อนเยอะ ก็ยังคิดว่าหนังสือตายแล้ว ผมว่ายังอยู่ได้ กรรมการ 5 คนเป็นนักอ่านที่ไม่เหมือนกัน

โตมร - อย่างคุณสฤณี ก็จะเป็นนักการเงิน นักคิด นักเศรษฐศาสตร์

ทีปกร – ก็ยังมีงานเขียนของตัวเองด้วย นักแปล นักการเงิน สนใจเรื่องกวีด้วย

ทราย – เพื่อความเพลิดเพลิน เพราะสมัยนี้หนังสือแปลที่สนุกก็มาจากหลายๆที่ ถ้าสมมุติเมื่อก่อนถ้าอยากอ่านนักสืบก็ฝั่งอเมริกาเท่านั้น นักสืบก็มีทั่วโลก จากที่ได้อ่าน อ่านงานของไทยด้วย ใจที่หลังๆผู้หญิงเขียนเยอะเหมือนเพิ่งรู้สึกว่ามันเยอะขึ้นจริงๆในช่วงนี้ อาจจะเป็นช่วงที่อายุเรากับนักเขียนคนใหม่ไล่ๆกัน โดยที่ไม่ต้องกำหนดว่าจะเป็นเรื่องที่ยาว หรือซีรีย์ ตีความอะไร ก็เหมือนรวมเรื่องสั้น อะไรที่มากระทบใจแต่ละครั้งก็เขียนออกมา

นิวัต – ปีที่แล้วเป็นปีที่นักเขียนหญิงได้โดดเด่นมากขึ้นจริงๆ มันน่าสังเกต เป็นปรากฏการณ์ที่นักเขียนหญิงทั้งไทยและต่างประเทศมีให้จับตามองหลายคน

โตมร – ถ้าปีนี้ถ้าดูจากในลิสต์ของเราก็มีนักเขียนหญิงอยู่หลายคน ส่วนนิวัตเรารู้อยู่แล้วว่าสนใจงานวรรณกรรม

นิวัต – ก็ลิสต์ส่วนใหญ่ที่ผมเลือกก็วรรณกรรมไทยเป็นหลักก่อน ก็พยายามเลือกนักเขียนคนไทย จะเห็นได้ว่าที่ผมเลือกก็จะมีทั้งของไทยและต่างประเทศบางเล่มก็อยู่ในลิสต์ที่เป็นลองลิสต์ อันที่ไม่ได้เข้ามาก็ยังมีอยู่มันอาจจะพลาดสายตา ผมคิดว่าปีหน้าถ้ายังทำอยู่ก็จะควานให้ลึกกว่านี้อีก

ทีปกร – อ่านเพื่อการทำงาน คือ 70 เปอร์เซ็น คืออ่านแล้วเอาไปทำอะไรต่อ เขียนบทความต่อ เพื่อเอาไปพูดต่อ เพื่อเอาไปทำอะไรต่อหลายๆอย่าง ปีนี้หนังสือที่เลือกมา ก็พบว่าปีนี้ก็มีการอ่านเพื่อความบันเทิง รื่นรมณ์เรื่องสัตว์ สัตว์ ก็มีการอ่านที่รื่นรมย์มากขึ้น

ก็มีคุณป้าคนหนึ่งเป็นนักวิจัยพวกดิจิตอล ทรานสิสชั่นเป็นออนไลน์มาหลายปีแล้วก็พูดว่าจะตาย จะตายมาหลายปีแล้วก็ไม่เห็นตายสักที ผมว่ามันก็ชัดเจนมากขึ้น ปีนี้ที่จริง E-book อาจจะไม่ได้อยู่ด้วยซ้ำเพราะมันเป็นอะไรที่ครึ่งๆ กลางๆ คือ ระหว่างหนังสือที่ออฟไลน์ไปเลย กับคอนเน็ท ซึ่งไอ้คนที่อยู่ครึ่งๆกลางๆ มันน้อยลง เวลาที่เราต้องการจะคอนเน็ทเราก็ไปอ่านหนังสือที่มันจับต้องได้ ที่มันสัมผัสอะไรต่างๆ ส่วนใครทื่อยากอ่านอะไรที่มันพิเศษครึ่งๆ กลางๆ อย่างนิตยสารที่มันเป็นเคอเรน หรือ e-book อย่างนี้ มันครึ่งๆ กลางๆ

โตมร – เป็นไปได้ว่า e-book จะตาย

ทีปกร – เป็นไปได้ว่าจะไม่ตายแต่น้อยลง ความเห่อในมันจะน้อยลงเพราะว่ากลุ่มคนอ่านแยกเป็น 2 ค่อนข้างชัดเจน แต่ไม่ใช่ว่าเรานิยมหนังสือเล่มแล้วจะไม่อ่านเว็บเลย แต่ว่าการอ่าน e-book มันจะเป็นตรงกลางๆ แต่หมายความว่าเราจะมีพฤติกรรมการอ่านที่ไปคนละทาง ถ้าใครอยากอ่านในเว็บอ่าน e-book

ทราย – ไม่อ่านหนังสือจาก e- book เพราะรู้สึกว่ามันต้องมีอุปกรณ์เพิ่มขึ้น แล้วก็เป็นคนที่ติดโทรศัพท์คือหมายถึงว่างานทรายก็เขียนในโทรศัพท์ตลอด สำหรับหนังสือเล่ม กับข้อมูลที่เป็นคอนเท้นต์ในเว็บ มันไม่ค่อยหนีกันมาก เพราะถ้ามีกิจวัตรประจำวันอ่านหนังสือก็ต้องอ่านหนังสืออยู่แล้วจะเก่า จะใหม่ก็ว่ากันไป ดังนั้นมันเหมือนว่าเราไม่จำเป็นที่ต้องแยกจากอะไร แล้วก็เป็นข้อดีด้วยซ้ำเมื่อเรากำหนดกิจวัตรประจำวันคือการอ่านหนังสือก่อนนอน มือถือก็จะอยู่ห่างตัว มันเป็นช่วงที่เราจะได้พักจากข้อมูลที่มันเยอะมากๆ บางทีตอนกลางคืนก็มาเรียงเรื่องใหม่ด้วยซ้ำ แต่ก็ลบทิ้งไปบ้าง พ้นสมัยไปแล้วไม่สามารถนำมาใช้ต่อได้เพราะว่า ยอมรับว่าข้อมูลที่จะนำมาเขียนเรื่องให้ทันสมัยมันก็มาจากในเว็บนั้นแหละ แต่ทรายไม่ได้คิดว่าจะมีอะไรที่ตายไปอย่างพิเศษ ทุกอย่างมันเปลี่ยนแปลงสภาพได้หมดแล้ว อย่างตัวเองต้องเขียนงาน ทรายก็หาอ่านงานที่มันหลากหลายได้มากๆ โดยไม่ต้องไปซื้อหนังสือเล่ม หรือรอให้คนแปลออกมาคือเราก็จะอ่าน ได้ สำหรับหนังสือเล่มมันก็มีเล่มที่ทรายอ่านและรอเป็นเล่ม ในฐานะที่เป็นคนอ่านหนังสือมาตลอดก็เลยไม่รู้สึกว่ามันย่ำแย่ แต่จะรู้สึกว่าจะเปลืองตังค์มากขึ้นเพราะบุกมาถึงตัวมากขึ้นยังแต่ก่อนจะอ่านหนังสือต้องรอสั่งหนังสือ แต่ตอนนี้เข้ารีดเดอรี่ก็จบแล้ว แล้วจ่ายมากกว่าด้วย บางทีเราก็ถ้าพรีออเดอร์จะได้ไอ้นี่ เราก็มือสั่นไปเรื่อยๆ ถ้าถามว่าร้านหนังสือจะตายมั้ยมันจะเกิดใหม่เป็นอย่างนี้แทน

โตมร – เรามาประกาศทีละเล่มกันดีกว่า

นิวัต – เราประกาศ 33 เล่มก่อนว่ามีเล่มไหนบ้าง

โตมร –33 เล่ม

  1. ไม่มีใครเป็นเจ้าของดวงอาทิตย์

  2. คนนอกคอกในคอกทนาย

  3. ยัญพิธีเชือดแพะ

  4. มนุษย์บริกร

  5. เนินนางวีนัส

  6. ยอดมนุษย์ดาวเศร้า

  7. การมอดไหม้ที่พ้นผ่านมานานแล้ว

  8. วันเงียบ

  9. ลมละเมอ

  10. พิพิธภัณฑ์แห่งความไร้เดียงสา

  11. หยดน้ำหวานในหยาดน้ำตาล

  12. ตำนานนิรันดร์

  13. เพราะฉันดื่ม ฉันจึงอยู่

  14. นายคำ ตำนานนักเขียนโลก

  15. หิมะ

  16. Story of art

  17. อ่านใหม่

  18. จากดวงจันทร์

  19. แสบ

  20. คนไทย คนอื่น

  21. Past ปัญญาอดีต

  22. หิมาลัยไม่มีจริง

  23. อาทิตย์สิ้นแสง

  24. ความจนกับคนจร ในปารีสและลอนดอน

  25. Powerism

  26. นักเขียนนิยายเป็นมืออาชีพ

  27. A Little History of Religion

  28. THERE

  29. ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งเศร้า

  30. สัตว์ สัตว์

  31. ร่างของปรารถนา

  32. Stuff Matters

  33. คราสและควินิน

ร่างของปรารถนา

สฤณี- คิดว่าเป็นงานที่ดีที่สุดของเขาแหละค่ะ เป็นหมุดหมายใหม่ของแวดวงวรรณกรรมไทยนะคะ และก็ชอบตรงที่รูปแบบ พยัญชนะ สื่อนัยทางเพศ และการกดดันใต้อำนาจ ร่วมถึงการร่วมรักต่างๆ สื่อถึงการใช้อำนาจในสังคม

นิวัต- งานของอุทิศเล่มนี้ ผมว่า เล่มที่ผ่านมาเขาเล่นด้วยเนื้อหา แต่เล่มนี้เขาเล่นด้วยรูปแบบด้วย เราก็ไม่รู้หรอก ว่าเขาเล่นเรื่องรูปแบบแต่ด้วยความเนื้อหาของเขาเนี่ยผมอยากให้หลายคนอ่านได้ลองอ่านดู เนื้อหามันแฝงเร้น บางคนอาจจะคิดว่ามันเป็นแค่นิยายอิโรติก แต่ที่จริงมันแฝงเร้น หลายอย่างในนั้นด้วย ซึ่งแน่นอนว่า ไม่ง่ายที่จะเขียนถึง ซึ่งเป็นอีกเล่มที่ผมคิดว่านักเขียนไทยก็มาถึงจุดนี้ได้เหมือนกัน

โตมร- คิดว่าเป็นหมุดหมายใหม่ของนักเขียนไทยเลยแหละ พุ่งไปข้างหน้าอีกก้าวหนึ่ง

ทราย- น่าทึ่งมาก

ทีปกร- เล่มนี้เวลาอ่านหนังสือเล่มนี้เหมือนเราได้ร่วมเพศกับมัน เล่มนี้จะมีการดีไซน์ฟอนต์ออร์แกนิค คือฟอนต์อวัยวะเพศ

ความจนกับคนจร

ทีปกร- เล่มที่ 2 ความจนกับคนจร ซึ่งผมประทับใจมาก ชอบมาก ผมคิดว่าเขาเขียนเกี่ยวกับตัวเองเป็นอัตชีวประวัติเล็กๆ อาจจะมีบิดเบียนบ้าง ในช่วงที่เขาไร้บ้าน อยู่ในปารีส และอยู่ในลอนดอนตามชื่อเรื่อง ซึ่งผมอ่านฉบับภาษาอังกฤษแล้วไม่ค่อยสนุก หนึ่งอาจจะเป็นเรื่องภาษาที่แตกต่างจากเราด้วย สองการใช้คำที่เป็นภาษาอังกฤษที่เก่า มีการใช้ภาษาฝรั่งเศส มีคำแสลงที่เข้ามาซึ่งรู้สึกว่าการที่แปลเป็นภาษาไทยอ่านได้สนุกมากก็รู้สึกว่า ทำไมชีวิตคนจนถึงได้สนุกขนาดนี้ว่ะ

โตมร - จุดเด่นของเรื่องเนี่ยคือการแปลภาษาที่ใช้ คุณบัญชา หรือพี่เตย เคยทำงานด้วยเป็นคนที่เก่ง ถามอะไรเนี่ยก็ตอบได้หมด ผมจำได้ว่าเคยแปลงานหนึ่งแล้วมันบอกถ้ามดขึ้นบ้านคุณ คุณไม่ต้องไปกระโดด คุณไม่ต้องไปเต้นรำ ก็เลยเดินไปถามพี่เตย พี่เตยอ๋อเป็นการเต้นแบบกระถืบเท้าซึ่งเป็นการเต้นให้มดออกมา คือมีคลังความรู้อยู่ในหัวตลอด แล้วแกก็จะสงสัยเช่น ทำไมราชบัณฑิตให้เราอ่านว่า คริส – ตะ –การ แต่ทำไมไม่อ่านว่า คริส-ตะ-สัด-ตะ-วัด ถึงต้องโทรถามราชบัณฑิต ว่าทำไม ราชบัณฑิตก็เลยบอกว่าที่ไม่อ่านว่า คริส-ตะ-สัด-ตะ-วัด เนี่ยคนไม่นิยม ราชบัณฑิตก็ตามคนนิยมเหมือนกัน

ทราย- เล่มนี้สนุกแต่เราไม่ควรสนุกบนความจนหรือเปล่า แต่มันสนุก พอแชมป์บอกต้นฉบับมันไม่ได้สนุกขนาดนี้เลยนะ เรานึกภาพไม่ออกเลยว่าไม่สนุกอย่างไง

ทีปกร- มันมีคำภาษาเยอรมัน ว่าเรามีความสุขบนความทุกข์คนอื่น ซึ่งเล่มนี้มันทำให้ผมรู้สึกอย่างนั้น หิวจนจะตายอยู่แล้ว หิวจนหลังชนหน้าท้อง

นิวัต - ถ้าใครอ่านต้นฉบับที่เป็นภาษาอังกฤษของจอร์จ ออร์เวลล์ เนี่ย อย่างที่บอกภาษาเนี่ยมันเขียนมานานมาก การแปลก็มีส่วนที่จะตรงหรือไม่ตรงก็อีกเรื่องหนึ่ง การทำหนังสือออกมาผมคิดว่าไม่ง่ายเลยการแปล

หิมะ

นิวัต- หิมะ ของออร์ฮาน ปามุก ต้องบอกว่าปีที่แล้วเป็นปีของปามุกจริงๆเพราะออกมาเล่มใหญ่ๆ 2 เล่ม ผมอ่าน 2 เล่ม แล้วก็ชอบ ตอนที่เราเลือกผมบอกว่า ปามุกเข้า 2 เล่มได้ไหม มันจะน่าเกียจไปไหม สุดท้ายของตัดใจเอาเล่มนึงแล้วกันยังมีเล่มอื่นด้วย แต่ถามว่าทำไมถึงเลือกเล่มนี้เพราะทางการเมือง ทางสังคม และกลวิธีการเล่าเรื่องของเล่มนี้ ผมบอกเลยว่า เขาเขียนเรื่องยากๆให้มันอ่านง่าย คือความโรแมนติก เป็นมูราคามิ แบบอาหรับได้เลยเหมือนกัน โดยเฉพาะความเข้มข้นทางการเมืองสูงมากโดยเฉพาะความขัดแย้งอิสลามในตุรกี ว่าเป็นเรื่องที่เขียนยากมากให้คนนอกเข้าใจแต่ว่าในหิมะมันสามารถทำให้เราเข้าใจ แล้วถ้าเทียบกับเหตุการณ์แล้ว มันคล้ายๆกับบ้านเรา การรัฐประหารอะไรทำนองนี้ ผมชอบให้หิมะมันตกตลอดเวลา มันหนาวเหน็บ เป็นเรื่องที่อ่านแล้วประทับใจสูงเหมือนกัน

ทราย- พี่หนุ่มได้พูดเอาไว้ว่าใช้ใจเรื่องหนึ่งกับใช้สมองเรื่องหนึ่งซึ่งมันไม่มีอะไรที่ดีหรือด้อยทุกคนได้อ่านทั้ง 2 เล่ม ก็ยื้อกันอยู่นานมาก

นิวัต- คืออยากจะบอกว่าพิพิธภัณฑ์แห่งการไร้เดียงสา สนุกกว่านี้ อย่างพิพิธภัณฑ์แห่งความไร้เดียงสามันจะเชื่อมระหว่างโลกความเป็นจริงกับโลกความฝัน อ่านไปเราเริ่มจะไม่เข้าใจว่าตัวเนื้อเรื่องคือความจริง

โตมร- ที่จริงแล้วก็เลือกมาสองเล่ม คือสองเล่มก็มีความดีไม่ย่อหย่อนไปกว่ากัน ถ้าเลือกมากลัวเป็นปามุกนิยม ก็เลยตัดสินใจเลือกมาเล่มนึง

หยดน้ำหวานในหยาดน้ำตา

ทราย- คำว่าหวาน เป็นคำจำกัดความที่ดีของในเล่มนี้ มันไม่ได้หวานเหมือนพิพิธภัณฑ์ของปามุกนะ มันหวาน มันมีสำเนียงของมัน

นิวัต- มันจะเป็นนิยายหรือ non –fiction ผมเองอ่านแล้วก็มีปัญหา อย่างที่ผมบอกโลกจริงกับโลกฝันมันซ้ำซ้อนกัน แต่ถามว่าโอเคกับมันไหม ประมาณนี้โอเค เล่มนี้เขาเขียนได้สมบูรณ์ที่สุด เล่มนี้ขายดีมากๆ

โตมร- ต้องบอกว่าคุณอุรุดา เขียนถึงตัวเองที่อยู่กับคุณกนกพงศ์ ซึ่งคุณกนกพงศ์เสียชีวิตไปแล้ว ได้ซีไรต์เป็นที่จับตามอง เรื่องที่อยู่ด้วยกันสองคน เวลาอ่านก็ มันเป็นเรื่องจริง

ทราย- มันกึ่งๆ บางอันเราอ่านแล้วเราเขิน รู้สึกว่าเป็นผู้หญิงที่ซื่อสัตย์มาก ถามว่าถ้าเราจะเขียนถึงใครสักคนที่จากไปแล้วเราจะเขียนได้ขนาดนี้ไหม มันก็ไม่ เราก็ไม่ได้ซื่อสัตย์เท่าคุณอุรุดา พูดถึง ซึ่งจริงๆแล้วความจริงตรงนั้นก็มีเธอรู้อยู่คนเดียวแต่เรารู้สึกว่ามันจริงไปอีก

ทีปกร- ครับคือตอนที่เสนอเรื่องนี้ขึ้นมาพี่ๆ ทุกคน...ตั้งใจอ่านเลย จริงๆแล้วมันเป็นหนังสือที่เต็มไปด้วยอารมณ์ ทุกคนก็เลยตกใจว่ามึงที่ดูไร้อารมณ์ทำไมถึงชอบเรื่องนี้ ผมคิดว่ามันเป็นหนังสือที่เหมือนจุดพักอ่ะ ที่เวลาเราแล้วรู้สึกสดชื่น มันดูจริงใจ ภาษามันง่าย มันเรียบ มันกลาง ไม่ได้มีการวางท่าอะไรที่ทำให้เรารู้สึกไม่สบายใจ รู้สึกว่าเหมือนพักจิบน้ำ

คนนอกคอกในคอกทนาย

ทราย- คนนอกคอกในคอกทนาย มันจะมีความขัดแย้งอยู่ในตัว ระหว่างเส้นศีลธรรมบางอย่าง ทนายก็จะมีทนายฝั่งอัยการ และฝั่งจำเลย เรียกง่ายๆคือไปว่าความให้กับเดนมนุษย์ เดนสังคมคนหนึ่ง ที่ทรายชอบเพราะว่ามันเป็นดราม่าถ้าเราใส่อารมณ์กับมันเอง ทรายว่าหลายๆเรื่องในชีวิตเราต้องยอมรับมันเพราะมันไม่ได้จบถูกใจเราทั้งหมด มันก็เป็นหนทางก็มันในมุมของมัน

นิวัต- ผมบอกเลยว่าถ้าไม่ใช่พวกเราก็คงไม่มีใครเลือก เพราะว่ามันจะถูกมองข้าม มีใครทนหยิบขึ้นมาอ่าน ความจริงมีแต่เรื่องเครียด เรื่องที่อยู่ในศาล เรื่องที่ต้องไปต่อสู้กับฆาตกร

ทราย- มันไม่ได้เป็นเรื่องที่แปลกใหม่ แต่คนที่เขียนทุกครั้ง แล้วเอาอยู่ทุกครั้งมันเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี คือแนะนำให้ไปอ่านเล่มนี้

ทีปกร- เป็นหนังสือที่เอาไปทำเป็นหนังได้ เป็นหนังสือที่พอเราอ่านแล้วต้องพลิกหน้าต่อไปทันทีต้องอ่านให้จบ

โตมร- หนังสือมันให้คุณค่าไหม ทุกเล่มมันมีมุมมองสาระสังคมเหมือนกันหมดแหละ

ทราย- บางเล่มเป็นครูเรา แต่บางเล่มก็เป็นเพื่อนเรา คือหนังสือมันมีความต่างทางอะไรแบบนั้นอยู่ ซึ่งมันก็ไม่ใช่เรื่องผิดว่าเล่มนี้มันป๊อปไป

โตมร- จริงๆ เล่มนี้เป็นครูได้เหมือนกันนะครับ แต่ละบทเขาจะทำให้มันสั้นๆ มีวิธีการ มีจังหวะ

ทีปกร- หนึ่งบท มันคือหนึ่งคัทในซีรีย์เลย

โตมร- มันเป็นซีน มันเป็นซีน แล้วแต่ละซีนจะทิ้ง ทิ้งตลอดเวลา ว่าต้องเปิดอ่านบทต่อไปแน่ๆ เรื่องแบบนั้นผมว่ามันเอาไปศึกษาได้สำหรับใครที่สนใจการเขียนนิยาย ที่ทำให้คนอ่าน อ่านแล้วติด

The Story of Art

ทีปกร- เมื่อกี่เล่มที่5 เนอะ ต่อไปเป็นเล่มที่ 6 นะครับ มาถึงครึ่งทางแล้ว เล่มต่อไปคือ the story of art

นิวัต- คือเล่มนี้ตอน 101 ที่ส่งมา ผมเปิดอ่านเป็นเล่มแรก เพราะมันหนักว่า พอเปิดดู โอโห้ลงทุนทำกันขนาดนี้เลยเหรอ แล้วคุณภาพของมันนี้ผมบอกได้เลยว่าเยี่ยมยอดมาก เนื้อหาการแปล รูปเล่ม คือผมคิดว่าการเริ่มต้นสนใจงานที่เป็น non-fiction งานศิลปะ ผมมองว่ามันน่าสนใจอยู่แล้ว สำหรับคนที่รักการอ่าน โดยเฉพาะเกี่ยวกับศิลปะเบื้องต้นเนี่ย สมควรจะเก็บเอาไว้ในคอลเลคชั่น อีกอย่างหนังสือพวกนี้สามารถขายได้ด้วย เพราะว่ามันลงทุนสูงมากๆ

ทีปกร- คือเวลาเราไปเดินดูงานศิลปะ เราจะมีความสงสัยตลอดเวลา รู้ว่ารูปนี้สวย แต่เราไม่รู้ความหมายว่าทำไมคนต้องหันไปทางนี้ ทำไมต้องวาดสามเหลี่ยมตรงนี้ แต่ว่าเล่มนี้จะเป็นเล่มที่อธิบายเรื่องพวกนี้ทั้งหมด เหมือนกับไกด์ที่ชี้ชวนว่า ดูสิตรงนี้ที่เขาวาดพระเยซูหันหน้ามาทางนี้ เพราะมีหลักคิดแบบนี้ อีกจุดที่ชอบคือความบาลานซ์ของหนังสือเล่มนี้ คือเขาจะเรียงตามทามไลน์ตั้งแต่ศิลปะยุคหินจนถึงศิลปะยุคหลัง ซึ่งในแต่ละยุคจะมีวิธีการรักษาสมดุลได้ดีมาก เล่มนี้ค่อนข้างกระจายให้เราเห็นภาพรวมในยุคนั้นจริงๆ ซึ่งเรารู้สึกว่าการรักษาความไม่ประเจิดประเจ้อ มันเท่ แล้วมันพอดี

โตมร- เล่มนี้ นักเรียนฝรั่งเขาไว้ใช้เป็นตำราเรียนที่เขาจะต้องเรียนกัน ซึ่งจะทำให้เขารู้พื้นฐานของศิลปะตะวันตกทั้งหลาย แต่ว่าถ้าจะให้เราไปอ่านภาษาอังกฤษ ก็ไม่มีความอดทนจะไปอ่าน เลยดีใจมากที่มีการการแปลเป็นภาษาไทย เพราะว่าพอเป็นไทย ก็แปลดีด้วย แต่ว่าบางทีเวลาเราเปิดดูเราอาจไม่ได้สนใจยุคนี้ แต่สนใจยุคนั้นยุคนู่นยุคนี้ คือต้องดูรูปก่อนจากนั้นค่อยๆ ไปดูคำอธิบายของมันได้ หรือถ้าเมื่อไหร่เราจะไปเที่ยวเมืองนอกแล้ว เราตั้งใจจะไปมิวเซียม ซึ่งมิวเซียมมีภาพนี้อยู่ เราก็มาดูจากในเล่มนี้ได้ว่าความเป็นมาเป็นไปของมันเป็นยังไง เวลาไปดูภาพเหล่านั้นมันจะซับซึมมากขึ้น สนุกกับมันมากขึ้น

ทราย- รู้สึกว่าถ้ามีเวลาว่างๆ ไม่รู้จะทำอะไรการนั่งอ่านพจนานุกรมสักเล่มก็ดูดีมีประโยชน์อะ หลายคนอาจจะงงว่า ฉันไม่ได้อยู่ในยุโรป ไม่ได้จะไปเดินมิวเซียม แต่เวลาเราได้ความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งมากขึ้น ทรายมองว่ามันดีเสมอ

คราสและควินิน

นิวัต- เล่มถัดไปเล่มที่ 7 นะครับ คราสและควินิน เล่มนี้ก็เป็นเล่มที่เราถกเถียงกันอยู่พอสมควร จริงๆแล้วเล่มนี้ต้องบอกก่อนว่า มีการถกเถียงกันตั้งแต่ก่อนหนังสือออก จนหนังสือออก เป็นระยะๆ จากในวงวิชาการต่างๆ อยู่พอสมควร ซึ่งมันมีความมันส์บางอย่าง ถ้าเราติดตามมันตั้งแต่ก่อนเป็นหนังสือจนเป็นหนังสือและหลังเป็นหนังสือ มันเป็นซึ่งที่ผมคิดว่ามันสนุกนะเล่มนี้ มันควรจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ในวงการหนังสือ

สำหรับปัญหาบางอย่างของคนที่จะอ่านหนังสือเล่มนี้คือต้องอ่านปากไก่และใบเรือก่อนไหม สำหรับผมคิดว่าถ้าอ่านก่อนก็โอเค ถ้ายังไม่อ่าน มันก็เป็นเล่มหนึ่งที่กระตุ้นให้เราอยากไปอ่านปากไก่และใบเรืออยู่พอสมควรนะครับ

โตมร- คือจริงๆ ผมอ่านปากไก่และใบเรือนะครับ แต่ว่าอ่านนานมากแล้ว ไม่รู้กี่ปี จำเนื้อหาไม่ได้แล้ว แล้วตอนที่มาอ่านเล่มนี้ก็ไม่ได้ เอาปากไก่มาอ่านเทียบกัน ก็มีความรู้สึกว่าต่อให้ไม่ได้อ่านปากไก่มาก่อน ก็อ่านได้นะครับ

ทีปกร- คือคุณพิพัฒน์ พสุธารชาติ ไม่ได้เป็นนักวิชาการแต่ว่าแต่ว่าหนังสือเล่มนี้มีภาพเป็นวิชาการมากๆอยู่เหมือนกัน ผมมองว่าด้วยความที่นักเขียนไม่ได้เป็นนักวิชาการทำให้เข้าถึงคนทั่วไปได้

คนไทยคนอื่น

โตมร- ต่อไปพูดถึงอีกเล่มที่คนเขียนเป็นนักวิชาแน่แท้เลยของอาจารย์ หนังสือเล่มนั้นก็คือ “คนไทยคนอื่น” มันแปลกอย่างคราสและควินิน ความสนุกก็อยู่ที่ความไม่ได้เป็นวิชาการมากขนาดนั้น แต่เล่มนี้เป็นวิชาการแต่สนุก

ทีปกร- ไม่รู้เพราะว่าเรามาอ่านในขนาดที่เรากลับมาตั้งคำถาม เกี่ยวกับเรื่องความเป็นคนไทยอยู่เยอะ แล้วการอ่านเล่มนี้ทำให้เรารู้สึกเปิดหูเปิดตา รู้สึกแบบเซอร์ไพรส์ตื่นตาตื่นใจไปกับข้อมูลที่เขาเอามานำเสนอ ผมรู้สึกว่าของอ.ธงชัยเล่นนี้ไม่ได้พลิกอะไรไปจากเล่มก่อนๆ มากนักยังมีฐานแบบเดิมอยู่ แต่ว่าอาจจะเอามาขยาย อาจจะเอามาเรียบเรียงใหม่ให้เข้าใจ ให้สนุกมากขึ้น หรือว่าให้คอบคลุมมากขึ้น อ่านแล้วก็ทำให้นั้นแหละเปิดหูเปิดตา

ทราย- อันนี้อ่านแล้วเข้าใจได้เลย เราอาจไม่ได้เข้าใจเท่ากับนักศึกษาที่ไปลงเรียนกับอาจารย์ แต่ก็คือ สนุกว่ะ เราสามารถใช้คำว่าสนุกกับหนังสือวิชาการได้

นิวัต- ถ้าผมซื้อหนังสือมาเป็นตั้งๆ แล้วเก็บเข้าชั้น หนังสือเล่มนี้จะเอาไว้ค่อยอ่านช่วงวันปลายๆของชีวิต แต่เมื่อต้องมาทำหน้าที่เป็นกรรมการ เราต้องอ่านแล้วผมเซอร์ไพรส์นะครับ อย่างที่บอกด้วยความเป็น อ.ธงชัย วินิจจะกูล จะต้องมีความซีเรียสอยู่ในตัว ซึ่งไม่ใช่ เล่มนี้สนุกอย่างที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกันหมด ตอนแรกผมคิดว่าตัวเองสนุกอยู่คนเดียวพอว่าคุยกันทุกคนก็บอกสนุก แล้วข้อมูลก็ไม่ใช่ข้อมูลใหม่ครับ แต่ว่าข้อมูลเหล่านั้นพอแกเอามาเขียนในเล่มนี้มันกลายเป็นความเศร้า ผมอ่านแล้วผมก็อึ้งกับข้อมูลที่อยู่ในเล่มนี้ แกก็เขียนธรรมดานะครับแต่ว่าถ้าเราเทียบเปรียบกับข้อมูลในยุคนี้แล้วก็ความเศร้ามันเกิดขึ้นระหว่างการอ่าน เกิดความรู้สึกแบบมันเกิดอะไรขึ้นในยุคของเรา เราคนไทยหรือคนอื่น ความจริงประวัติศาสตร์ไม่ได้ยาวนานแค่รัชกาลที่ 5-6 เอง ซึ่งผมคิดว่าเป็นเรื่องที่น่าค้นหาสำหรับเล่มนี้

โตมร- บทหนึ่งที่อยากให้อ่านคือ ว่าด้วยเรื่องปัตตานี ลองอ่านๆ

แสบ

ทราย- สฤณี “อ่านสนุกวางไม่ลงยิ่งกว่า ‘ลวง’ จากผู้เขียนคนเดียวกัน ตีแผ่ปัญหาในวงการการศึกษาไต้หวัน และความกดดันของนักเรียนได้อย่างยอดเยี่ยม อ่านแล้ว ‘อิน’ มากเพราะปัญหาของไต้หวันหลายอย่างเหมือนกันกับปัญหาในระบบการศึกษาไทย สำนวนแปลลื่นไหลราวกับอ่านต้นฉบับ”

นิวัต- สำหรับเรื่องนี้เป็น coming of age ที่น่าสนใจ เล่มนี้พอมันเป็นเรื่องนักเรียน เรื่องนักเรียนที่ถูกแกล้งไรเนี่ย ก็มีการสอบ มันอ่านได้ง่ายกว่า มันเข้าถึงได้ง่ายกว่า โดยส่วนตัวชอบหนังสือที่เป็น coming of age อยู่แล้ว

ทราย- ของทราย ทรายอ่านตอนข่าวเนติวิทย์ ผ่านโดมไรงี้ ซึ่งทรายรู้สึกว่าการที่จะฟอมคนขึ้นในจุดผ่านของชีวิต มันเป็นการตัดสินใจที่สำคัญเหมือนกันนะ ไม่ว่าเขาจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม เราจะตัดสินใจมองโลกนี้ยังไง หรือว่าก็ช่างแม่งไปก็อยู่กันไปแบบนี้ คือมันเหมือนช่วงนั้นที่เราได้เห็นน้องๆ คนที่รุ่นใกล้เคียงกับตัวเอกของเรื่องนี้ได้ลุกขึ้นมากระทำอะไรบางอย่าง ซึ้งแน่นอนว่าต้องมีทั้งคนเห็นด้วยไม่เห็นด้วย เหมือนกับตัวละครเล่มนี้ก็คือ ซึ่งที่เขาทำโดนวิจารณ์ไปต่างๆ เรื่องเริ่มต้นมันก็แค่ตั้งข้อสงสัยมาด้วยซ้ำ

ทีปกร- จริงอาจเป็นปัญหาเริ่มของทางด้านเอเชียตะวันออกหรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งคำโปรยจะทำให้เราเห็นชัดเจนเลยว่าปัญหามันใกล้เคียงกัน จะเกิดอะไรถ้าเกิดศึกษาเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของการคัดลอกระบบวรรณะสังคม จะเศร้าแค่ไหนหากสถานศึกษาเป็นเพียงทัณฑสถานจงจำสร้างสรรค์ ซึ้งช่วงหลังๆประเทศเราก็มีเด็กออกมาตั้งคำถามแบบนี้ด้วยเช่นกัน

โตมร- คนฟังอาจรู้สึกว่ามันหนักจังเลย แต่จริงๆมันสนุก มันเป็นเรื่องที่มีปัจเจก เรื่องเชิงระบบเข้ามา ซึ่งมันเป็นเรื่องตึงเครียด ดูเป็นปัญหาหนักแน่นสาหัส เป็นเรื่องสังคม ตัวตน มันหลายเรื่องมากครับแต่ว่ามันทำให้หนังสือออกมาสนุกได้ คนเขียนเก่งมากเลย

A Little History of Religion

ทีปกร- ต่อไปเล่มที่10 คือ A Little History of Religion

ทรายอันนี้ก็เห็นพ้องตรงกัน อยากจะส่งให้คนที่ชอบแปะธรรมะ คนที่แชร์แต่ด้านตัวเอง อยากให้รู้ว่าโลกมันกว้างนะ คือชุดหนังสือเล่มนี้ในฉบับภาษาอังกฤษทำมากันอย่างยาวนาน เป็นอีกชุดที่ผลรู้สึกว่าอ่านแล้วมันได้อะไร อ่านแล้วอาจไม่ได้รายละเอียดมากขนาดนั้น แต่เวลามีคนมาพูดกับเราอย่างน้อยเราก็มีข้อมูลพื้นฐาน แล้วที่สำคัญคือมันสนุก

นิวัต- คือ openword เขาถนัดทำหนังสือสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้น ถามว่ามันละเอียดมั้ย สำหรับผมผู้อ่านได้อ่านเล่มเล่านี้แล้วไปต่อได้ มันมีคุณค่าเขาทำ ครบเซต เศรษฐศาสตร์ การเมือง

ทราย- มันสนุกอะ หนังสือเล่มหนึ่งมันสามารถสนุกเพราะมันสนุกเฉยๆ ได้มั้ย

นิวัต- สังเกตเวลาเราเลือกหนังสือเนี่ย เราเลือกเพราะความสนุกก่อน นี่ก็เป็นอีกเล่มหนึ่งที่เป็นแบบนั้น

โตมร- คืออยากจะบอกว่าดีใจมากที่มันมีโปรเจ็คความน่าจะอ่าน เล่มพวกนี้ผมก็ซื้อ แล้วก็ลืม ผมไม่ได้เลือกจะเล่มนี้ไม่รู้ใครเลือกมา ก็เลยทำให้ได้มาอ่านไม่งั้นก็คงวางทิ้งไว้ แต่ว่าเล่มนี้มันอ่านสนุก มันเป็นเกร็ด เป็นประวัติศาสตร์ได้ด้านศาสนาทั้งหลาย มันไม่ได้เขียนขึ้นมาด้วยวิธีแบบตำรา แต่เป็นการเขียนแบบnon-fiction ที่มีวิธีคิดและการวางโครงมาแล้ว เอาเรื่องเล็กๆน้อยๆ มาร้อยเรียงให้เราเห็น ภาพใหญ่อีกทีหนึ่ง

เนินนางวีนัส

นิวัต- เล่มต่อไป เนินนางวีนัส บอกตรงๆ นะ ถ้าพูดถึงนิยายอีโรติก ผ่านเข้ามาสู่ทั้งลองลิสต์และช๊อตลิสต์ยาก

ทราย- ในฐานที่เป็นผู้หญิงนะ เวลานิยายบางอย่าง จะรู้สึกว่าโดนคุกคามทางเพศ แต่ด้วยความเป็นผู้หญิงด้วยหนึ่ง สองความยาวของแต่ละเรื่องไม่ได้ยาวจนรู้สึกว่าอึดอัดหรือถูกคุกคาม มันเหมือนกับเล่าเหตุการณ์ในบ่ายวันหนึ่ง หรืออะไรที่สั้นไปกว่านั้น และที่แฟนตาซีไปกว่านั้น แต่ว่าทุกเรื่องมีความอีโรติกอยู่นั้นแหละ แต่ไม่ได้บรรยายแบบโอโห้ แบบน่ากลัว น่าสะพรึงกลัว ทรายว่ามันละเมียดละไม แล้วมันก็ไม่น่าเบื่อ เราไม่เคยไปอยู่ในบ่ายวันนั้นของเรา แต่เรากลับรู้สึกมันเป็นวันที่พิเศษอย่างไม่มีเหตุผล ตัวละครทุกคนในเรื่องดูเป็นคนมีเหตุผล มีคาแลคเตอร์ พิเศษแต่ไม่ใช่คนพิสดาร ไม่รู้จะใช้คำว่าอะไรดีเหมือนกัน

โตมร- บอกไม่ถูกอะต้องลองอ่าน

ตำนานนิรันดร์

โตมร- เล่มสุดท้าย ตำนานนิรันดร์ของไอแซ็ก

คืออย่างนี้ครับ ผมอะ อ่านเล่มนี้นานแล้ว แล้วพอมีความน่าจะอ่านก็เลยคิดว่าต้องเอาเล่มนี้มาใส่ เพราะจำอารมณ์ความรู้สึกตอนอ่าน

นิวัต- ผมเล่าคร่าวๆในฐานะคนทำนะครับ เรื่องนี้เหมือนเขาเอาตัวเขามาใส่ มาเป็นบท แล้วก็เป็นเรื่องของกาละสีเรือที่เป็นตำนานแล้วเศรษฐีคนหนึ่งอยากให้เรื่องที่เป็นตำนานกลายเป็นเรื่องจริง ซึ่งมันกลับกันกับคนมันมันมีความคิดว่าจะเอาเรื่องตำนานมาทำเป็นเรื่องจริงมันน่าเหลือเชื่อแต่เขาทำได้ ที่เลือกเล่มนั้นมาพิมพ์เพราะรู้สึกว่าเวลาเราพูดถึงไอแซ็ก ตอนเรากลับไปทำเล่มรู้สึกเหมือนได้กลับไปทำตำนานของนักเขียนที่มีชีวิตในยุคนี้ ซึ่งผมว่ายากมากในยุคนี้ที่กลับเขียนแนวแบบนี้ได้รื่นรมย์ขนาดนี้ มีความละเมียดละมัยทางด้านภาษา ทางด้านตัวเรื่อง ก็รู้สึกดีใจที่ทุกคนเลือกนะครับ ไม่คิดว่ามันจะเข้ามาด้วยซ้ำแต่ว่าในฐานะที่ได้ก็รู้สึกยินดี ก็ขอบคุณทุกคนด้วยก็แล้วกัน

ทีปกร- สรุปช๊อตลิสต์ของเราปีนี้ 12 เล่ม

  1. ตำนานนิรันดร์

  2. เนินนางวีนัส

  3. คนไทยคนอื่น

  4. แสบ

  5. A Little History of Religion

  6. คราสและควินิน

  7. The story of art

  8. หยดน้ำหวาน ในหยาดน้ำตา

  9. หิมะ

  10. ความจนกับคนจรในปารีสและลอนดอน

  11. ร่างของปรารถนา

  12. คนนอกคอกในคอกทนาย

นิวัต- คือตอนที่เราเลือกกันก็ไม่ได้คิดว่าจะมีกี่เล่ม แล้วก็เราไม่ได้คิดว่าต้องเลือกประเภทหนังสืออะไรบ้าง มันไม่ได้มีกำหนดขนาดนั้น แล้วเราก็ไล่คุยกันมาทีละเล่ม พอได้ทั้งหมด 12 เล่ม ก็พบว่ามันค่อนข้างบาลานซ์ ซึ่งผมคิดว่ามันเป็นการอ่านหนังสือกันที่ทำงานหนักอยู่พอสมควรใน 33 เล่ม แล้วก็ผมคิดว่าเรายังทำงานอาจจะยังไม่ดีพอ ยังไม่สามารถคว้านหาหนังสือได้ทุกเล่ม ในท้องตลาดแต่ก็ผมคิดว่า เราก็ทำเท่าที่กำลังทั้งหมด แล้วก็ 101 เองก็กำลังประมาณนี้ เราไม่ได้มีเงินสนับสนุนอะไรมากมาย ทำด้วยใจรัก ทำด้วยเพราะรักหนังสือ แล้วเราอยากจะส่งเสริมหนังสือเนี่ยให้กับคนอ่าน แล้วก็จากเพื่อนๆที่อยู่ในแวดวงวรรณกรรม เราก็คิดว่าเราอยากให้หนังสือออกมาดีๆ ได้มีคนอ่านเพิ่มมากขึ้น

ทราย- เชื่อว่าคนที่นั่งอยู่ตรงนี้คงได้อ่านผ่านตามาบ้างแล้ว บางคนอาจไม่เคยก็ตรงตามชื่อของโปรเจ็คว่ามันน่าอ่านนะ อยากจะให้ลองอ่าน

โตมร- มีใครอยากถามกรรมการมั้ยครับ

นิวัต- คือในปีหน้าผมยังมีความหวังว่าเราจะคว้านหากันได้ลึกว่านี้ ในหนังสือแต่ละประเภทนะครับ เท่าที่กำลังเรามี

โตมร- ถ้าใครมีอะไรแนะนำก็แนะนำผ่าน 101 เนอะ

นิวัต- อาจส่งหนังสือไปยังทีมงานก็ได้ เขาอาจเก็บเป็นข้อมูลไว้ เพื่อให้ตัวลิตต์มันลึกลงไปอีก เท่าที่เราอยากให้มัยกว้างกว่านั้น ความจริงเราก็ยอมรับว่าเราขาดนิยายประเภทแบบนิยายวาย เรื่องของเยาวชน เราไม่สามารถคว้านหาได้มากกว่านั้น ก็ต้องฝากทุกท่านด้วยเหมือนกัน ถ้าคือว่าเล่มไหนดีในปีนี้ก็ลองส่งไปที่ทีมงาน ลองเก็บข้อมูลไว้

โตมร- มีใครอยากถามกรรมการมั้ยครับ

นิวัต- 33 เล่มนี้มีแนวโน้มเป็นยังไงบ้างเอ่ย

โตมร- พี่คิดว่าปีที่ผ่านมาหนังสือมันหลากหลาย ไม่ได้มีจำนวนเยอะมากกว่าปีก่อนๆ แต่ว่าในความไม่เยอะมันกลับมีความเข้มข้นกว่า ทั้งสังคม ศาสนา เรื่องคนไทยคนอื่น น้ำหวานในหยาดน้ำตาล ก็พบว่าประมาณมันไม่ได้เยอะ ซึ่งในปี61 ไม่รู้เศรษฐกิจไม่ดี คนก็อ่านหนังสือน้อยลง ซื้อหนังสือน้อยลง แต่กลับ กลับเป็นตัวการทำให้หนังสือที่มีคุณภาพมันอยู่ แต่หนังสือที่เป็นฟองสบู่ หนังสือที่อ่านแล้วไม่ค่อยได้อะไร อาจจะหายไปหรือเปล่า ซึ่งก็อาจจะดีขึ้นก็ได้

ผู้ร่วมฟังถาม- อยากทราบว่าตลาดที่เป็นหนังสือทำมือ หนังสือพิมพ์เองจะเพิ่มมากขึ้นมั้ยครับ อาจจะติดลองลิสต์

ทีปกร ผมคิดว่าสำนักพิมพ์เล็กๆ น่าจะมีที่ยืนมากขึ้น คือเราพูดถึงเรื่องนี้ในวงด้วยเนอะว่า ในปีนี้มีหนังสือที่อ่านในห่วงขณะเดียวแล้วจบอะเยอะ เยอะมากใน33เล่ม ที่น่าสังเกตคือมีหนังสือไทยที่เป็นแบบนี้เยอะขึ้น

นิวัต- ผมคิดว่าสำนักพิมพ์เล็กๆ มีความยืดหยุ่นกว่าสำนักพิมพ์ใหญ่ๆกว่าด้วยซ้ำ แต่ในด้านการลงทุนอาจจะสู้ไม่ได้ แต่ว่าจริงๆแล้วสำนักพิมพ์เล็กๆมีแต่เรื่องเด็ดๆทั้งนั้น ซึ่งผมมองว่าเป็นยุคทองของคนอ่าน ไม่ได้ทำหนังสือเพื่อให้หว่านแต่ทำหนังสือเพื่อให้เห็นว่าหนังสือเหล่านี้เป็นหนังสือที่ควรค่าแก่การอ่าน

ทราย- แล้วก็ดีใจมากที่ทำหนังสือเล่มเล็กลง คือมันจะมีช่วงหนึ่งที่ทุกคนจะต้องแบบแค่สองเรื่องพอเหรอวะ ต้องใส่ต้องเพิ่มเรื่องเยอะๆ ถ้าไม่ใสผิดผีไรเงี้ยอะ ซึ่งมันให้มูนเดียวกัน อย่างที่แชมป์บอกในห่วงหนึ่งของจุดๆ นั้น ซึ่งบางทีเราต้องการอ่านแค่เฉพาะตอนนี้เท่านั้น มันก็จะติดอยู่ในใจเราแต่ว่าการกล้าหาญที่จะพิมพ์ 5 เรื่องแล้วมันจบในตัว สมบูรณ์ในตัว ก็สิ่งที่ดี

ทีปกร- สำนักพิมพ์เล็กๆ ก็มีเสน่ห์ตรงที่ว่า เราก็รู้อยู่แล้วว่าถ้าหนังสือมันขายได้ประมาณหนึ่ง การที่คุณจะสร้างตลาดขึ้นมาทั้งประเทศมีคนติดตามคุณ 1500 คน ที่รักคุณไปเลย มันอาจจะดีกว่าตลาดที่มีคนรู้จักคุณ 2 หมื่นคน แต่ไม่ได้ซื้อหนังสือคุณก็ได้ไง แต่ไม่รัก ใช่มั้ย แต่ว่าถ้าเราอยู่ในสำนักพิมพ์เล็กที่เขาสร้างกลุ่มคนอ่านได้เหนียวแน่น แต่เล็กเนี่ยก็น่ายินดีเหมือนกัน

โตมร- แล้วก็มันมีวิธีขายใหม่ๆ ด้วย ทุกวันนี้อาจจะออกพรีออเดอร์ มันมีวิธีหลายอย่างที่ทำให้สำนักพิมพ์เล็กๆ อยู่ได้ ถ้าคนถามอยากลองทำก็ทำเลยครับ

นิวัต- คือผมว่าวิธีการทำหนังสือตอนนี้มันง่าย ผมคิดว่าคนทำหนังสือหน้าใหม่ๆ เป็นซึ่งที่ดีต่อวงการ ต่ออุตสาหกรรมหนังสือ มากกว่าสำนักพิมพ์ใหญ่ เพราะเท่าที่เห็นสำนักพิมพ์ใหญ่ๆเขาก็เซฟตัวเองเรื่องที่พิมพ์พอสมควร เรื่องที่ได้แน่ๆ ชัวร์ๆ ดีกว่า แต่สำนักพิมพ์เล็กมีความกล้าหาญมากกว่านั้นบางเล่มถ้าไปอยู่ในสำนักพิมพ์ใหญ่เขาอาจไม่รับ ไม่ใช่ว่าเขาอาจจะไม่ดีที่ว่าเขาไม่ได้คิดว่ามันจะขายได้ แต่ว่ามันก็ดีในช่วงเวลานั้นที่เกิดเราคิดว่า เล่มนี้มันต้องออกเวลานี้ คนทั่วนี้จะเป็นคนส่งหนังสืออกตลาด ผมคิดว่าสำนักพิมพ์เล็กๆต้องระวังอยู่แล้ว คงไม่ทำอะไรให้ตัวเองเจ็บช้ำ เพราะว่าเวลาเซ็งทีหนึ่งก็คือ อาจจะไม่ได้ทำหนังสือต่ออีกไปเลย นั้นเขาเลยมีลักษณะที่ระวังระมัด แต่ก็ไม่ได้ระมัดระวังแบบสำนักพิมพ์ใหญ่ อาจจะพิมพ์น้อยลง

เพิ่งมาสนใจเกี่ยวกับหนังสือเพื่อสุขภาพ เท่าที่อ่านแล้วเรามีความรู้สึกว่าอ่านคนเขียนที่เป็นหมอมันจะดูได้อะไรแต่ไม่รู้สึกเท่าไหร่ พี่มีแนะนำยังไง

ทราย- หมายถึงหมอที่เขียนหนังสือแล้วสนุก แล้วเกี่ยวกับสุขภาพเหรอะ มันต้องเลือกค่ะ เราต้องกล้าหาญว่าถ้าหมอเขียน แล้วไม่สนุก แต่ได้ความรู้ ยกตัวอย่างเล่มของตัวเองเล่มที่กำลังจะออกของเรา แต่ไม่ได้เขียนในฐานะผู้บำบัด เขียนในฐานะผู้ป่วย แต่ถามว่าไปพบแพทย์มั้ย มีข้อมูลจากแพทย์มั้ย มี แต่สุดท้ายมันก็มาจบที่ตัวเราว่าเรารับมือกับมันยังไง เราเชื่อหมอ 100 เปอร์เซ็นเลยรึเปล่า หรือเราได้พยายามด้วยมั้ย ทรายเชื่อว่าคงมีหนังสือสองแบบ แบบเนี่ย ก็คือ 1 ออกมาเพื่อให้ข้อมูล เขียนโดยคุณหมอโดยตรงเลยว่ามีโรคแบบนี้ มีวิทยาการแบบนี้ อีกมุมก็คือคนที่เป็นก็ควรที่จะดูแลตัวเองยังไง ควรกินชีวจิตมั้ย ว่ากันไปอย่างนั้นมากกว่า ถ้าบอกว่าเป็นแบบเรื่องของสุขภาพอย่างเดียว บางคนก็จะไม่อ่านจนกว่าจะเป็นโรคถูกป่ะ บางคนก็รีบอ่านรีบปกกันตัวเองไปก่อนเลย อย่างหนังสือของมูราคามิที่เกี่ยวกับเรื่องวิ่ง ก็เกี่ยวสุขภาพมั้ย ก็เกี่ยวกับสุขภาพ ทั้งๆ ที่ตัวมูราคามิเองก็ไม่ได้เป็นหมอ ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆกับสายสาธารณะสุข

นิวัต- ปัญหาของหนังสือสายสุขภาพอย่างที่ทรายว่าก็คือ ถ้าเราไม่เป็นโรคเราก็จะไม่อ่าน มะเร็ง ไม่ว่าอะไรต่างๆ เราก็จะไม่อ่าน พอเป็นถึงอ่านเนอะ จริงๆ แต่ว่าต้องระมัดระวังเรื่องข้อมูลด้วยเหมือนกัน บางเล่มเนี่ย เท่าที่ที่ผมอ่านทุกครั้งเนี่ย บางครั้งหมออ่านก็ไม่ได้ถูกหมดในการทำงาน ก็ต้องระมัดระวังข้อมูล ต่างๆ ในเรื่องสุขภาพก็เป็นเรื่องสำคัญ คือผมไม่ชอบในเน็ตที่มีบทความเกี่ยวกับสุขภาพ อยากให้ระมัดระวังรับข้อมูลนิดหน่อย กินอย่างนี้แล้วช่วยอย่างนั้น ผมคิดว่าคงต้องใช้วิจารณญาณ ต้องใช้วิธีการในหารสืบเสาะข้อมูล อะไรหลายๆ อย่างด้วยเหมือนกัน แต่จริงๆ หนังสือสุขภาพเมื่อปีที่แล้วมีเยอะนะ ถ้าเราไปค้นดู

โตมร- จริงๆ หนังสือที่เกี่ยวกับหมอแล้วดีมากๆ เล่มหนึ่งคือ หนังสือเมื่อลมหายใจกลายเป็นขี้ผง

ทราย- ปีนี้มีเนี้ย แมงมุมทำอะไรนะ เหยื่อใช่มั้ย คุณหมอเขียนเรื่องคุณหมอ เวลาหมอเห็นถึงหมอด้วยกันเองเนี่ยมีนจะมีความแบบ ไมอยากตรวจเพราะขี้เกียจ หรือง่วง เราจะชอบลืมอยู่บ่อยๆมาก เขานั้นกับหน้าที่นั้นอาจจะเป็นคนละเรื่องนั้น คนเขาก็เป็นอย่างที่เขาเป็น แต่เขาแค่ทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งในเวลาหนึ่งเท่านั้นเอง

Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page