top of page

How to Delete This Post

ปั๊ม น้ำ มัน (ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์: กำกับ)


ปั๊ม น้ำ มัน “เป็นหนังรัก” (*วิจักขณ์ พานิช)

ปั๊ม น้ำ มัน นั้นโดยตัวมันเองเป็นสถานที่ที่ไม่มีอยู่จริง (วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา)



1.ปั๊มน้ำมันเป็นหนังที่ดูสนุก ไหลลื่น และแฝงปนไปด้วยความรักความเศร้าตามแบบหนังเมโลดรามา หรือจะบอกว่าตัวหนังมันดำเนินมาตามขนบนิยายของศรีบูรพาก็ไม่ผิด ฉากใกล้จบเจ๊มัด (เพ็ญพักษ์ ศิริกุล) เป็นการอ้างอิงที่เด่นชัดถืงภาพคุณหญิงกีรติ แห่งข้างหลังภาพ ถ้าใครอ่านงานของศรีบูรพา จะเห็นได้ว่าขนบของนิยายแนวศรีบูรพาจะเต็มไปด้วยการตั้งคำถามถึงความรักสมัยใหม่ (ยุคก่อน 2475) ขณะเดียวกันตัวละครผู้ชายของศรีบูรพา หรือแม้แต่เสนีย์ เสาวพงศ์ มักเต็มไปด้วยอุดมคติแบบความรักที่มั่นคงเสมอ


2.ดูแบบตีความสนุกกว่าดูตามระนาบ อาจจะกลายเป็นอีกเรื่องเลยก็ได้ ปั๊มน้ำมัน มันเป็นการเซ็ตโลกนิยายขึ้นมาใหม่ ภายใต้โลกที่ดูเหมือนไม่จริง “มั่น” (ปั้นจั่น) ในชุดคาวบอย “เจ๊มัท” ชุดสะไบ “ฝน” (แมกกี้) ในชุดซูเปอร์ฮีโร่ และ “นก” มักจะมาในชุดหนังสีดำ ซึ่งดูเล้าโลมมากกกก ปั๊มน้ำมันถูกแยกออกมาจากตัวเมือง โดดเดี่ยว เป็นทางผ่านของผู้คนที่จากมาและจากไป จริงๆ มันอาจจะเป็นประเทศนึงก็ได้ ประเทศที่คล้ายๆ ประเทศไทย มีคนหลากหลาย เพิ่งรู้ว่าชื่อตัวละครมันก็มีความหมาย อย่างมั่นคง ทำให้เรามองตัวนี้ไม่ใช่ชายที่มั่นคงในรักอย่างเดียว แต่เขายังเป็นคนที่มีกฎของตัวเอง เช่นพยายามเก็บรักแยกเซ็กซ์ แต่งงานก่อนค่อยมีอะไรกัน หรือจะกินเหล้าสูบบุหรี่ หรือไม่กินไม่สูบ มักมีข้ออ้างเสมอๆ จากฉากแรกๆ ที่เขาสักรูปนกตามวันปีที่ฝนจากไป มันเป็นการตั้งกฎของเขาเอง จากนกที่สักจากภายในมันออกมาเป็นตัวนกกระดาษ และมันก็มากขึ้นตามปี นกก็คือกฎหรือปัญหาที่มั่นสร้างขึ้น และใช้มันในฐานะที่เขาเป็นเจ้าของพื้นที่โลกส่วนตัว ในฉากจบที่นกกระดาษหล่นออกมาจากตู้เสื้อผ้าจนถมทับตัว “นก” จึงหลุดที่จะสารภาพหรือพูดความจริงขึ้นมา เหมือนเธอพบว่าจะไม่หนีปัญหาอีกแล้ว


3.ว่าด้วยถนนลูกรัง ทางผ่านของปั๊มน้ำมันยังเป็นถนนลูกรัง ซึ่งมันคัลท์มากๆ ลูกสาวผิวสีของนก ถูกรถสิบล้อคร่าชีวิตที่ถนนเส้นนี้ ในประเทศที่เราบอกว่า ควรจะทำให้ถนนลูกรังหมดไปก่อนแล้วค่อยศิวิไลซ์นั้นมันช่างเข้ากับถนนลูกรังในโลกของปั๊มน้ำมันก็ไม่ผิด นอกจากมันดูไม่จริงแล้ว มันยังบอกว่าความจริงมันดูหลอกลวงยิ่งกว่าเสียอีก


4.ชอบตัวละคร “ฝน” มาก สดใสสดชื่นจริงๆ เธอเข้าฉากที่ไรเรียกเสียงหัวเราะ และรอยยิ้มได้ทุกครั้ง ขณะเดียวกัน ฝนเป็นตัวแทนของความเปลี่ยนแปลง จากชุดคอสเพลย์ซูเปอร์ฮีโร่จนมาถึงชุดพนักงานออฟฟิศ จากขี่มอไซค์ มาขับรถเก๋ง เธอตอบแทนคนที่ให้ของเธอด้วยการมีเซ็กซ์ ซึ่งเธอคิดว่ามันไม่ใช่เรื่องที่ผิดอะไร ยิ่งตอกย้ำว่าเธอมีความคิดในแบบการเมืองท้องถิ่น ซึ่งเป็นปรปักษ์กับการเมืองแบบคนชั้นกลางในเมือง เธอจึงไม่ได้รับความรักจากมั่น จนเธอต้องเอ่ยถึงเรื่องนี้ขึ้นมาว่า มั่นไม่ชอบเธอเพราะเรื่องดังกล่าวใช่ไหม การแต่งงานของฝนเป็นการหนีออกไปจากโลกปั๊มน้ำมัน แม้จะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด แต่เป็นการลี้ภัยที่ทำให้เธอมีอิสระจากโลกที่เธอรัก


5.ฉากที่รุนแรงที่สุดสำหรับเราคือฉากที่เผยให้เห็นถึงเจ๊มัทในสภาพนอน-นั่งบนเตียง หน้าซีด ไม่แต่งหน้า มะเร็งทำให้เธอป่วย เจ๊มัทในชุดไทย เทพีนางนพมาศที่ทำให้เธอมีชื่อเสียง เป็นที่รัก เจ๊มัทเป็นตัวแทนของประเพณีวัฒนธรรมเก่า โลกเก่าที่โดนเล่นงานจากความรัก แม้จะเจ็บปวดแต่ก็ต้องทน คนอย่างเจ๊มัทนั้นถูกยุคสมัยคร่าทิ้งลงทีละน้อย เธอยอมรอให้สามีที่หมดรักแล้วตายก่อนเพื่อที่จะได้แต่งงานใหม่ เธอยอมเจ็บทน และไม่กล้าเผชิญหน้าความจริง และมักหลอกตัวเองว่าตัวเองรอได้ ซึ่งมันเศร้ามาก ความเชื่อผัวเดียวเมียเดียวขึงเธอให้อยู่ภายใต้ความอ่อนแอและหลงรักคนที่เธอรักจริงๆ โดยทำได้เพียงแค่อยู่ข้างๆ เขาอย่างเจ็บปวด


6.มั่นพ่อผู้โอบอุ้มทุกคน ฉากที่มั่นขับมอไซค์ผ่านสันฝาย แล้วเด็ก ม.ต้นสองคนล้มลงในที่เดียวกัน มันบอกเราว่ามั่นก็คือคุณพ่อที่คอยโอบอุ้มคุณงามความดี มันเป็นการกลับเข้าไปหาขนบแบบเก่า ความรัก ความเมตตา การให้อภัย ขณะเดียวกัน มั่นเชื่อว่าถ้าเขามีความกล้าหาญกว่านี้ เขาคงจะสามารถพาเด็กสาวทั้งสองไปสู่จุดที่ปลอดภัยได้ แต่เอาเข้าจริงๆ เขาก็ไม่ได้บริสุทิ์อย่างที่เขาพูด แถมเขาแคร์เรื่องความบริสุทธิ์ของตัวเองมากกว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจริงๆ จนทำให้ความไม่บริสุทธิ์ของเขาก็ทำให้อะไรแย่ลงไปอีก (ซึ่งมันดีมากสำหรับหนัง)


Comments


Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page